หลังจากคลุกวงในอยู่กับการออกแบบเวปไซต์มาหลายปีในไอซ์แลนด์ ได้เรียนรู้อะไรมากมายกับงานด้านนี้ มันคือการออกแบบจากสิ่งที่พิมพ์บนกระดาษ มาเป็นการจัดวางองค์ประกอบให้หน้าเวปไซต์ เป็นอะไรที่น่าท้าทายพอสมควร เหมือนกับการที่เราจัดวางหน้าองค์ประกอบสวยๆบนโบร์ชัวร์ต่างกันแค่ มันมีเทคโนโลยีเบื้องหลังโบชัวร์ในแต่ละหน้า
หนี่งในองค์ประกอบที่หน้าสนใจของเวปไซต์คือ การออกแบบไอคอน
Icon คือภาพกราฟฟิคเล็กๆ ที่แทนสัญลักษณ์ในด้านข้อมูล หรือบริการต่างๆ ที่ต้องการจะสื่อให้ผู้ใช้งานในเวปไซต์นั้นเข้าถึงและจดจำได้ง่ายโดยการใช้ภาพแทนตัวอักษร
งานออกแบบไอคอนเป็นอีกงานโปรดงานหนี่งที่สนุกที่่่จะคลุกเคล้ากับมันได้เป็นวันๆ เพราะภาพเล็กที่มันดูเหมือนง่ายๆแต่การคิดการออกแบบมันไม่ได้เล็กอย่างที่คิด มันเหมือนเป็นศาสตร์อีกศาสตร์ของการออกแบบเลยทีเดียว
มีบทความดีๆจากเวปไซต์ต่างประเทศมากมายเกี่ยวกับการออกแบบไอคอน
แต่ที่จะบอกเล่าในบล็อกนี้ ขอรวบรัดมาจากประสบการณ์ตรงในการทำงานด้านนี้อย่างพอไม่เบื่อแล้วกัน
หลักง่ายๆที่เราต้องจับให้แม่นคือ
- จับโจทย์ไว้ว่าเขาต้องการให้สื่ออะไร ทำรูปแบบให้ตรงประเด็น ชัดเจน
- ทำรูปแบบให้เรียบง่ายที่สุด เพราะการที่เรามีรายละเอียดในภาพเยอะแล้วจะทำให้กวนตา ยากในการจดจำ
- สี เฉดสี แสงเงา และขนาดของเส้นกราฟฟิคในการออกแบบควรเหมาะสม ซี่งต้องหมั่นเช็คย่องานดู เมื่อเราทำงานควรคำนึงถึงขนาดที่จะใช้ในหน้าเวป ซี่งส่วนใหญ่ไอคอนที่ปรากฎหน้าเวปไซต์จะมีขนาดเล็ก เช่นงานที่เราออกแบบในขนาดปกติ 500 พิกเซล แต่พอมาย่อเป็นขนาด 15 พิกเซล มันควรยังจะดูดีอยู่เหมือนขนาดใหญ่ คือไม่เบลอ เส้นหนาจนดูตัน หรือไม่บางจนเกินไป (ส่วนตัวแล้วตรงนี้สำคัญมาก ในด้านการนำไปใช้งานจริง)
- การออกแบบรูปแบบขี้นอยู่สไตล์งานของแต่ละคน ถ้าต้องการออกแบบไอคอนเป็นเซทเพื่อใช้ในงานเดียวกัน ให้คำถึงรูปแบบที่สอดคล้องกัน (consistency) ไม่ว่าจะเป็น สี เส้น หรือ มุมมอง (perspective)
ภาพเล็กๆภาพเดียว อาจแทนคำพูดได้หลายประโยค ฉะนั้นการออกแบบ ทำอย่างไรให้คำพูดหลายคำหรือหลายประโยค มาอยุ่ได้ในภาพเล็กๆภาพเดียวบนเวป มันเป็นอะไรที่น่าสนุกอย่างที่บอกไว้ข้างต้น ขอแบ่งปันเรื่องราวที่ได้สนุกมาสู่กันฟัง ทั้งภาพทั้งตัวอักษรในโพสนี้แล้วกัน
คำถามที่ยินดีตอบ (หากตอบไม่ไ้ด้จะพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นให้ค่ะ)
หยอดเมล์มาที่นี่ได้เลยค่ะ patratawatpol@gmail.com
No comments:
Post a Comment